1. ONและOFF ON หมายความว่าที่กำลังทำงานอยู่ (ADV) ส่วนOFFหมายถึงไม่ทำงาน(ADV) ใช้บอกสถานะการทำงานของอุปกรณ์แบบบิต คำสั่งพื้นฐานและคำสั่งประยุกต์ คำสั่งพื้นฐานหรือคำสั่งประยุกต์จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการสั่งงานจากcontact instruction จากรูป1 เมื่อX20 ON จะทำให้คำสั่งMOVทำงาน(ON)
รูป 1
เมื่ออุปกรณ์แบบบิตทำงานจะเรียกว่าON เมื่ออุปกรณ์แบบบิตไม่ทำงานจะเรียกว่าOFF จากรูป2 คำสั่งOUT Y3 จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการสั่งงานจากcontact instructionทั้งสองcontact คือX0และX4 ถ้าบิตใดบิตหนึ่งOFF คำสั่งOUTจะไม่ทำงาน
รูป 2
2. Operation (คำนาม,N) หมายถึงการทำงาน ตัวอย่างการใช้คำว่า operation เช่นวงจรรูป3 ทั้งสองวงจรมี operation เหมือนกัน ซึ่งหมายถึงมีการทำงานเหมือนกัน
รูป 3
วงจรรูป4 คำสั่ง MUL มีการทำงาน(Operation)คือ นำค่าของอุปกรณ์แบบเวิร์ดคูณกันและนำผลลัพธ์ไปเก็บที่เวิร์ดปลายทาง
รูป 4
3. Execution (คำนาม,N) หมายถึงการกระทำ,การปฏิบัติ,การกระทำการ,การประมวลผล,การดำเนินการ execution มีความหมายเดียวกับคำว่า processing
รูป 5
ตัวอย่างการใช้คำว่า execution จากรูป 5 เมื่อX0 ON จะทำให้คำสั่งMOVทำงาน และคำสั่งMOVจะมีการกระทำ(execution) โดยการกระทำก็คือนำค่าของD10เขียนไปยังD100 ซึ่งก่อนการกระทำค่าของD10เท่ากับ220 และค่าของD100เท่ากับ0 และหลังจากexecutionจะได้ค่าของD100เท่ากับ220
3. Program execution , Program processing หมายถึงการดำเนินการโปรแกรมหรือการประมวลผลโปรแกรม โปรแกรมที่ประมวลผลคือsequence program หรือโปรแกรมภาษาอื่นๆที่บันทึกในหน่วยความจำของPLC
รูปที่ 6 ก่อนการประมวลผลโปรแกรมจะมีการประมวลผลทางด้านอินพุท (input processing) ก่อนเพื่อตรวจจับสถานะการทำงานของรีเลย์อินพุท เมื่อมีการประมวลผลทางด้านอินพุทแล้ว ก็จะเปลี่ยนเป็นขั้นตอนการประมวลผลโปรแกรม CPUจะประมวลผลsequence program ตั้งแต่คำสั่งแรกจนถึงคำสั่ง END หรือ FEND การประมวลผลโปรแกรมจะมีทิศทางจากซ้ายไปขวา และจากบรรทัดบนไปยังบรรทัดล่าง หลังจากที่ดำเนินการคำสั่ง END แล้ว ก็จะเปลี่ยนเป็นการประมวลผลภาคเอาท์พุท(output processing) และก็วนกลับไปที่การประมวลผลทางด้านอินพุทอีก
รูปที่ 7 การประมวลผล sequence program จะเริ่มที่คำสั่งทางซ้ายด้านบนสุดก่อน และตามด้วยคำสั่งถัดไปทางขวาจนถึงคำสั่งOUT จากนั้นก็ประมวลผลที่บรรทัดถัดลงมา และประมวลผลจากซ้ายไปขวาเช่นกัน เมื่อประมวลผลถึงคำสั่งEND ก็จะครบการประมวลผลโปรแกรม ลำดับการประมวลผลคือ(1.)ประมวลผลX0(2.)ประมวลผลX5 (3.)ประมวลผลข้อ1และ2รวมกัน(4.)ประมวลผลX1 (5.)ประมวลผลข้อ1ถึง4(6.)ประมวลผลข้อ1ถึง5รวมกันและคำสั่งOUT(7.)ประมวลผลM0 (8.)ประมวลผลข้อ7และคำสั่งOUT (9.)ประมวลผลคำสั่งEND
รูปที่ 8 เป็นการประมวลผลวงจรแบบวงจรผสม(อนุกรมและขนาน) ลำดับการประมวลผลคือ (1.) CPUประมวลผลcircuit block1 โดยประมวลผลX0ก่อนX5 (2.) ประมวลผลM0 (3.) ประมวลผลข้อ1และ2รวมกัน (4.) ประมวลผลcircuit block2 โดยประมวลผลX3ก่อนX7 (5.) ประมวลผลX1 (6.)ประมวลผลข้อ1ถึง5รวมกัน (7.) ประมวลผลข้อ1ถึง6และเอาท์พุทY0 (8.) ประมวลผลข้อ1ถึง6 และเอาท์พุทY1
4. Instruction execution time หรือเรียกสั้นๆว่า execution time คือเวลาที่ใช้ในการประมวลผลคำสั่งต่างๆ และปฏิบัติตามคำสั่งนั้นๆ ซึ่งเวลาที่ใช้ทำตามคำสั่งต่างๆจะไม่เท่ากัน execution timeจะแบ่งเป็นเวลาในขณะที่คำสั่งทำงานและเวลาในขณะที่คำสั่งไม่ทำงาน เช่นกรณีPLC FX3U/FX3UC เมื่อคำสั่งMOVทำงาน เวลาที่ประมวลผลคำสั่งและทำตามคำสั่งเท่ากับ0.64?s ถ้าคำสั่งMOVไม่ทำงาน จะใช้เวลาในการประมวลคำสั่งเท่ากับ0.32?s execution time จะขึ้นอยู่กับความเร็วของCPU ถ้าCPUมีความเร็วในการประมวล ผลสูง (high speed processing) ก็จะทำให้ execution time น้อย
รูปที่ 9 เมื่อมีการสแกนว่าX0 ON ต่อไปก็คือการสแกนคำสั่งMOV โดยผลการประมวลผล(processing) คือให้คำสั่งMOVทำงาน และนำค่าของD10เขียนไปที่D100 ซึ่งเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติคือ0.64?s
รูปที่ 10 เมื่อมีการสแกนว่าX0 OFF ต่อไปก็คือการสแกนคำสั่งMOV โดยผลการprocessingคือไม่ต้องเขียนข้อมูลไปที่D100 ซึ่งเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติคือ0.32?s โดยจะใช้เวลาน้อยกว่ากรณีแรก เนื่องจากไม่ต้องเพิ่มเวลาในการเขียนข้อมูลไปที่D100
คำสั่งพื้นฐานจะใช้ execution time น้อยกว่าคำสั่งประยุกต์เนื่องจากการทำงานของคำสั่งจะไม่ซับซ้อน ซึ่งในการแสดงข้อมูลจำเพาะของPLC จะบอกexecution time โดยเทียบกับคำสั่งพื้นฐาน เช่นPLC FX3G มีexecution time(basic instruction)ประมาณ0.21ถึง0.42?s, PLC FX3U มีexecution time(basic instruction)ประมาณ0.065?s
execution time สามารถเรียกได้อีกแบบคือ command processing time
5. Processing speed คือความเร็วในการประมวลผลของCPU ความเร็วในการประมวลผลของCPUก็คือ execution time/instruction เช่นกรณีPLC FX3UC มี processing speed คือ0.065 ?s/basic instruction เป็นต้น
6. program execution time หรือเรียกว่า program cycle period คือเวลาที่ใช้ในการประมวลผลวงจรแลดเดอร์1รอบ ซึ่งเป็นเวลาการประมวลผลตั้งแต่คำสั่งแรก(ที่step0)จนถึงคำสั่งEND เนื่องจากโปรแกรมประกอบไปด้วยคำสั่งตั้งแต่สองคำสั่งขึ้นไป การประมวลผลโปรแกรมก็คือการประมวลผลทุกๆคำสั่งในโปรแกรม ถ้ามีคำสั่งจำนวนมาก จะทำให้เวลาที่ใช้ในการประมวลผลโปรแกรมมีมากขึ้น สถานะON-OFFของอุปกรณ์มีผลกับprogram cycle period ตัวอย่างเช่นรูป2.101 เป็นวงจรไฟกระพริบ เมื่อX0 OFF อุปกรณ์ในวงจรก็จะOFFทั้งหมด program cycle period จะลดลง ถ้าX0ทำงาน อุปกรณ์ในวงจรก็มีการON OFFตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งprogram cycle period จะมากขึ้น เนื่องจากเมื่ออุปกรณ์ON(คำสั่งทำงาน) เวลาที่ใช้ในการประมวลผลจะมากกว่าเมื่ออุปกรณ์OFF(คำสั่งไม่ทำงาน)
การที่อุปกรณ์ในวงจรOFFทั้งหมด เราจะอธิบายว่า วงจรแลดเดอร์ไม่มีการทำงาน แต่ไม่ได้หมายความว่า PLCไม่มีการประมวลผลโปรแกรม เพราะว่า program processing คือการสแกนทุกๆคำสั่งในวงจร เมื่อสแกนว่าอุปกรณ์OFFสถานะก็จะถูกส่งไปที่device image memory หรือเมื่อสแกนว่าอุปกรณ์ON สถานะก็จะถูกส่งไปที่ device image memoryเช่นกัน ดังนั้นการทำงานหรือไม่ทำงานของวงจรนั้น คือการตีความจากการที่อุปกรณ์ในวงจรไม่มีการตัดต่อเท่านั้น เพื่อให้ง่ายเมื่อต้องการอธิบายสถานะของวงจร
กรณีที่sequence program มีขนาดใหญ่เราสามารถลดเวลาที่ใช้ในการประมวลผลวงจรได้ โดยการใช้คำสั่ง CJ และ CJP
program cycle period หมายถึงเวลาที่ใช้ในการประมวลผล sequence program ทั้งหมด แต่ถ้าใช้ระบุเวลาประมวลผลต่อ1คำสั่งก็จะเรียกว่า program cycle period per logical instruction ซึ่งมีความหมายเดียวกับ execution time
7. Pulse operation หมายถึงการทำงานของอุปกรณ์แบบบิตหรือการทำงานของคำสั่งประยุกต์ ใน1วัฏจักรการดำเนินการ (1operation cycle)
ตัวอย่าง pulse operation เช่นคำสั่งPLS จากรูป 2.12 เมื่อX0 ON input processing จะตรวจพบสัญญาณขาขึ้นของX0 และทำให้คำสั่งPLS ทำงาน โดยจะทำให้M0 ONในช่วงระหว่างเวลา 1 operation cycle เมื่อวัฏจักรจบลง M0จะOFF แม้ว่าX0จะONตลอดก็จะไม่มีผลต่อคำสั่งPLS ในวัฏจักรถัดไป M0จะไม่ONอีกในวัฏจักรถัดไป
เมื่อ input processing ในช่วงวัฏจักรใดก็ตามมีการตรวจพบว่าสัญญาณของX0เปลี่ยนจากOFFเป็นONอีก จะทำให้คำสั่งPLSทำงานอีกครั้งในขั้นตอนprogram processing
8. Continuous operation หมายถึงการทำงานของอุปกรณ์แบบบิตหรือการทำงานของคำสั่งในทุกๆวัฏจักรการดำเนินการ (ทำงานในทุกๆoperation cycle)
ตัวอย่าง continuous operation เช่น การทำงานของคำสั่ง SET จากรูป 13 เมื่อ X0 ONคำสั่งSETจะทำให้ M0 ON ตลอดเวลาในทุกๆวัฏจักรการดำเนินการ M0 จะ OFF ก็ต่อเมื่อถูกรีเซ็ต หรือ PLC หยุดการทำงาน
วงจรรูป 14 เมื่อX0 ON(หรือOFF)ในทุกๆ operation cycle คอยล์M0จะON (หรือOFF)ทุกๆoperation cycle ตามการทำงานของX0 กรณีนี้คือcontinuous operationเช่นกัน