ความรู้เบื้องต้นของ PLC

ความหมายของ PLC
PLCย่อมาจาก Programmable Logic Controllerเป็นอุปกรณ์ควบคุมแบบลอจิกที่สามารถเขียนโปรแกรมลงไปได้ PLCบางครั้งก็เรียกสั้นๆว่าPC ซึ่งย่อมาจากProgrammable Controller หรือบางครั้งก็เรียกว่าSequence Controllerแปลว่าอุปกรณ์ควบคุมแบบลำดับ ตัวย่อPCจะซ้ำกับการเรียกคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะซึ่งย่อมาจาก Personal Computer
PLC ใช้CPUในการประมวลผลเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นPLC ก็คือคอมพิวเตอร์แบบย่อส่วน แต่เป็นคอมพิวเตอร์เฉพาะทางที่ใช้สำหรับประมวลผลโปรแกรมเพื่อควบคุมเครื่องจักร PLCมีหลายแบรนด์เช่น Mitsubishi, SIEMENS, Omron, Keyence, Panasonic ,Sharp, Fuji, Hitachi ,Yaskawa เป็นต้น สำหรับบริษัท Mitsubishi Electric แบรนด์ของPLCจะใช้ชื่อว่า MELSEC ย่อมาจาก Mitsubishi Electric Sequence Controller

โดยทั่วไปถ้าพูดถึงPLC เราจะหมายถึงCPU module ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีCPUเป็นส่วนประกอบ ซึ่งCPUจะใช้ในการประมวลผลโปรแกรม ส่วนใหญ่แล้วCPU module จะมีเฉพาะอุปกรณ์I/O คือมีเทอร์มินอลอินพุทสำหรับต่อกับสวิตช์หรือเซ็นเซอร์ และมีเทอร์มินอลเอาท์พุทสำหรับต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้า

การใช้งานPLC เบื้องต้นคือการใช้ PLC ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าเช่นหลอดไฟ,โซลินอยล์วาวล์,แมกเนติกคอนแทคเตอร์ เป็นต้น ส่วน สวิตช์และเซ็นเซอร์ก็จะใช้สั่งงานโปรแกรมยกตัวอย่างเช่น ใช้PLC ควบคุมเครื่องจักรขนาดเล็ก ควบคุมระบบไฟฟ้า น้ำประปา เป็นต้น

หลักการทำงานเบื้องต้นของ PLC

PLC จะรับสัญญาณอินพุทจากอุปกรณ์ที่ต่อกับเทอร์มินอลอินพุทของPLC สัญญาณที่PLCรับมี2แบบคือสัญญาณดิจิตอลและสัญญาณอนาล็อก สัญญาณดิจิตอลก็คือสัญญาณที่มีการON,OFF โดยแบ่งออกเป็น2แบบคือสัญญาณที่มีความถี่ต่ำ เช่นการON-OFFของสวิตช์ และสัญญาณที่มีความถี่สูงเช่นสัญญาณจากโฟโตเซ็นเซอร์, เลเซอร์เซ็นเซอร์, encoderเป็นต้นในการรับสัญญาณความถี่สูง รีเลย์อินพุทของPLCจะต้องมีความไวในการตอบสนองให้ทันกับสัญญาณด้วย โดยผู้ผลิตก็ได้ออกแบบให้รีเลย์อินพุทของPLCมี2แบบคือแบบที่ใช้รับความถี่ต่ำและแบบที่ใช้รับความถี่สูงได้ อินพุทแบบที่รับความถี่ต่ำจะไม่สามารถรับสัญญาณความถี่สูงได้ ส่วนอินพุทที่ใช้รับความถี่สูงจะสามารถใช้รับสัญญาณความถี่ต่ำได้
สำหรับสัญญาณแบบอนาล็อกก็คือแรงดันและกระแสไฟฟ้า ซึ่งป้อนเข้าPLC โดยใช้อุปกรณ์เช่นFlow sensor, pressure sensor, temperature sensor เป็นต้น เมื่อPLCรับสัญญาณแล้วก็จะนำสัญญาณนั้นไปแปลงเป็นข้อมูลดิจิตอล และนำไปใช้ในโปรแกรมPLCส่วนผลลัพธ์การประมวลผลโปรแกรม ก็จะส่งมาที่เอาท์พุทของPLC โดยเอาท์พุทPLCแบบดิจิตอลจะจ่ายสัญญาณดิจิตอลเพื่อสั่งงานอุปกรณ์ที่ต่อกับPLC เช่นหลอดไฟ,โซลินอยล์วาล์ว,คอนแท็กเตอร์ เป็นต้น ส่วนเอาท์พุทของPLCแบบอนาล็อกก็จะจ่ายแรงดันและกระแสไฟฟ้าออกมาได้

 

Copyright © 2019. All rights reserved.

You cannot copy content of this page

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.