ระบบทดแทนการใช้เครื่องปรับอากาศ

ภาวะโลกร้อนและวีธีที่อาจทำได้ในการลดการใช้พลังงาน

ภาวะโลกร้อน เกิดจากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของคนเราดังนี้
-การใช้พลังงานเช่น ถ่านหิน น้ำมัน แก๊ส ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถลดการใช้พลังงานเหล่านี้ได้ ซึ่งพลังงานที่เราใกล้ชิดมากๆคือ ไฟฟ้า โดยก่อนอื่นต้องมีจิตสำนึกในการใช้พลังงานก่อน
การจะลดการใช้พลังงานอย่างได้ผลจริงๆ ต้องเข้าใจก่อนว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรที่กินไฟฟ้ามากที่สุด โดยเราทราบอยู่แล้วว่าเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความร้อนคือสิ่งที่มีผลต่อโลกร้อนมาก เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้ามากที่สุดในชีวิตประจำวันของเรา แล้วเราจะลดการใช้งานได้ยังไง
1. ปรับความร้อนเครื่องทำน้ำอุ่นให้เหมาะสม การเปิดให้ร้อนมากไปก็เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น
2. เครื่องปรับอากาศควรปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม และเปิดเท่าที่จำเป็น ถ้าสลับมาใช้พัดลมได้ก็จะช่วยในการลดโลกร้อนได้

3.เปลี่ยนมาใช้ผ้าที่ไม่จำเป็นต้องรีด
จิตสำนึกเหล่านี้ต้องมีเป็นพื้นฐาน ไม่ใช่ว่าคนที่มีเงินจ่ายจะเปิดทิ้งๆขว้างๆ ไม่สนธรรมชาติซึ่งเป็นการทำลายธรรมชาติจนเกินไป อย่าลืมว่าธรรมชาตินั้นไม่ได้มีทุกอย่างให้เราใช้ได้อย่างไร้ขีดจำกัด
อย่างไรก็ตามการอาศัยความรู้ทางวิศวกรรมหรือวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ( แต่ถูกละเลย) ก็สามารถนำมาแก้ปัญหาทางพลังงานได้ นั่นก็คือ การไหลของอากาศและการพาความร้อน

สำหรับความร้อนที่เกิดจากแอร์นั้นมหาศาลมากๆ ถ้าเราคิดเล่นๆว่าเครื่องปรับอากาศ หรือ แอร์ ในประเทศไทยมีจำนวน 10 ล้านเครื่อง ถ้าตีคร่าวๆว่าใช้พลังงานไฟฟ้า 2 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง และทำงาน 5 ชมต่อวัน พลังงานไฟฟ้าที่ใช้คือ 10 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง ดังนั้นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมด10 ล้านเครื่องคือ 100 ล้านกิโลวัตต์ หรือ 1 แสนเมกกะวัตต์ต่อวัน

แม้เราจะบอกว่าแอร์สร้างความเย็น แต่ความร้อนที่ถูกใช้ในการทำความเย็นก็สูงกว่าความเย็นที่ได้หลายเท่า

การพาความร้อน (ความร้อนอาศัยอากาศเป็นตัวกลางในการเคลื่อนที่)

อันดับแรก เราจะสังเกตว่าถ้าเราอยู่ข้างนอกบ้าน ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน เราจะรู้สึกสบายกว่าอยู่ในห้องพัก (ที่ไม่ได้เปิดแอร์) เนื่องจากข้างนอกคือที่โล่งกว้าง และมีลมไหลอย่างต่อเนื่อง ถ่ายเทความชื้นได้ดี เราจึงรู้สึกสบายและไม่อึดอัด แต่ถ้าเราอยู่ห้องเมื่อไหร่ แทบจะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่เปิดแอร์หรือพัดลม ซึ่งการมีพัดลมก็ช่วยไม่มาก พัดลมก็พัดความร้อนไปมาวนในห้อง สาเหตุก็เนื่องจาก ความร้อนถูกสะสมอยู่ในห้องพักอันเนื่องมาจากแสงแดด และอุณหภูมิสะสม

ความร้อนในห้องจะไม่ถูกระบายออกไปด้านนอก แม้ว่าจะเปิดหน้าต่างก็จะไม่มีลมเข้ามา เนื่องจากในห้องมีความดันที่อากาศข้างนอกก็จะดันเข้ามายาก เช่นในรูปที่ 1 กรณีเราเปิดหน้าต่าง A อากาศก็จะเข้ามาไม่ได้เช่นกัน ทำให้อากาศร้อนในห้องไม่ได้เคลื่อนที่ออกจากห้อง

ในรูปที่ 2 กรณีเราเปิดหน้าต่าง B ถ้ามีลมพัด อากาศก็จะไหลผ่านได้ ซึ่งการมีหน้าต่างแบบนี้จะช่วยพาความร้อนออกไปได้ดี ทำให้ในห้องอยู่สบายขึ้น แต่ปัญหาคือ ลมก็ไม่ได้พัดตลอด ทำให้ความร้อนก็ยังสะสมได้อยู่ดี นอกจากนั้นก็มีปัญหาเรื่องฝุ่นละอองจากข้างนอกเข้ามาด้วย
(สำหรับห้องพักที่เป็นตึกอาคาร การมีหน้าต่างสองด้านก็เป็นเรื่องที่หาไม่ได้แน่นอน )

แน่นอนว่าเรากำลังพูดถึงวิธีการทำให้ห้องอยู่สบายโดยไม่ใช้เครื่องปรับอากาศ ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างทรงพลังและมีค่าใช้จ่ายที่ถูกมากๆ ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อย่างมหาศาล ซึ่งก็คือการทำระบบหมุนเวียนอากาศ

รูปที่ 3 เราสามารถติดตั้งพัดลมสองตัวคือ
1. พัดลมดูดอากาศเข้าในห้อง โดยมีท่อลำเลียงอากาศวิ่งเข้าไปและเจาะรูเพื่อปล่อยอากาศเข้าไปในห้อง โดยสามารถเพิ่มแผ่นกรองฝุ่นต้นทางได้ ช่องนี้อาจทำเป็นฝาถอดได้กรณีต้องการทำความสะอาด
2. พัดลมดูดอากาศออกจากห้อง คอยดูดอากาศให้ไหลออกจากห้องตลอดเวลา
วิธีการนี้จะเป็นการนำความร้อนออกไปข้างนอกตลอดเวลา เป็นการทำให้อากาศด้านนอกและด้านในสมดุลกัน และทำให้เราประหยัดไฟกว่าการใช้แอร์มากๆ เนื่องจากพัดลมกินไฟน้อยมากๆ ลดการใช้พลังไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
วิธีการนี้ได้ผลมากกว่า 90% โดยเฉพาะกลางคืนที่ข้างนอกห้องเรามีอุณภูมิต่ำ ทำให้ห้องเราเย็นเท่าด้านนอก สำหรับกลางวันโดยส่วนใหญ่ก็เปิดได้ ยกเว้นบางวันที่ข้างนอกอาจร้อนจริงๆ ก็สามารถเปิดแอร์แทนได้ แต่โดยรวมก็ลดชั่วโมงการใช้แอร์ไปได้มาก สำหรับการติดตั้งระบบก็มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำมากๆ

นอกจากนั้นยังมีข้อดีอื่นๆคือ ลดกลิ่นอับภายในห้องได้และลดฝุ่นละอองภายในห้องได้ สำหรับฝุ่นละอองนั้นอาจไปเพิ่ม PM2.5 ให้กับอากาศด้านนอกได้ แต่ก็ไม่ได้ถือว่ามีผลเมื่อเทียบกับควันรถจากเครื่องยนต์ดีเซลหรือกิจกรรมจากโรงงาน แต่การมีฝุ่นในห้องก็เป็นผลเสียกับสุขภาพเราด้วย การแก้ต้นเหตุจริงๆคือ หลีกเลี่ยงผ้าที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองเหล่านี้

Copyright © 2019. All rights reserved.

You cannot copy content of this page

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.